ดื่มกาแฟแล้วใจสั่นอันตรายไหม?

1623 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ดื่มกาแฟแล้วใจสั่นอันตรายไหม?

          คาเฟอีนเป็นสารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติซึ่งอยู่ในกลุ่มของสารประกอบที่เรียกว่าเมทิลแซนไทน์ พบได้ในพืชกว่า 60 ชนิดทั่วโลกรวมทั้งเมล็ดกาแฟ
ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่งในสมอง มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง มีผลทางบวกคือทำให้ร่างกายเกิดความตื่นตัวและลดความง่วงได้ โดยปกติกาแฟถือเป็นเครื่องดื่มที่ใช้กระตุ้นการตื่นตัวของคนทั่วไป

คาเฟอีนพบได้ในไหนบ้าง ?

          อาหารและเครื่องดื่มทั่วไปหลายอย่างมีคาเฟอีนตามธรรมชาติเช่นกาแฟชา (ทั้งชาดำและชาเขียว) และช็อกโกแลต นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มคาเฟอีนลงในเครื่องดื่มต่างๆได้ เช่นเครื่องดื่มชูกำลัง และน้ำอัดลม ทั้งชาและกาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดทั่วโลก

คาเฟอีนมีผลต่อร่างกายและหัวใจอย่างไร ?

          คาเฟอีนมีผลทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ประโยชน์หลักๆของคาเฟอีนที่มีคือ เมื่อร่างกายเหนื่อยต้องการการตื่นตัว คาเฟอีนจะเป็นตัวช่วยสำคัญในการตื่นตัว ลดความเหนื่อยล้า และเพิ่มสมาธิ อย่างไรก็ตามอาจมีผลข้างเคียงที่เป็นลบสำหรับบางคนเนื่องจากคาเฟอีนส่งผลกระทบต่อทุกคนแตกต่างกัน และบางคนอาจไวต่อคาเฟอีนมากกว่าคนทั่วไป คาเฟอีนส่งผลต่อการทำงานของเอมไซม์ในหัวใจ รวมถึงสามารถกระตุ้นการหลั่งสารอะดรีนาลีน ทำให้หัวใจบีบตัวแรงเร็วขึ้น ดังนั้นในบางครั้งผู้ที่ทานคาเฟอีนจึงรู้สึกกระวนกระวายใจ หงุดหงิด ใจสั่น มีอัตราการเต้นของหัวใจที่เพิ่มขึ้น จากการศึกษาส่วนใหญ่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างโรคหัวใจกับการดื่มกาแฟ บางการศึกษาเห็นประโยชน์เล็กน้อยเมื่อพิจารณาถึงการบริโภคกาแฟในระดับปานกลาง ปัญหาอื่นที่พบได้บ่อยเช่น การรบกวนการนอนหลับ ถ้าดื่มคาเฟอีนใกล้เวลาเข้านอนมากเกินไป


          แต่หากในกรณีดื่มกาแฟมากๆ เช่น มากกว่า 3 แก้วต่อวันหรือมากกว่า 250 มก. สามารถกระตุ้นให้เกิด ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้หลายชนิด เช่น หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ , หัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว หรือ Atrial Fibrillation ในบางรายอาจกระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะได้ แต่มักพบในรายที่ได้รับคาเฟอีนในปริมาณที่สูงมาก เช่น มากกว่า 10 แก้วต่อวัน ดังนั้น ถ้ามีอาการใจสั่น หายใจไม่อิ่ม รู้สึกหัวใจสะดุด หัวใจเต้นเร็ว แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม

ดื่มกาแฟ หรือคาเฟอีนแค่ไหนที่มากเกินไป ?
          ปริมาณที่เหมาะสมสำหรับผู้ใหญ่ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ปริมาณคาเฟอีนสูงสุด 400 มก. ต่อวัน และไม่เกิน 200 มก. ในการนั่งครั้งเดียว เนื่องจากแหล่งอาหารและเครื่องดื่มของคาเฟอีนอาจแตกต่างกันไปปริมาณคาเฟอีนก็เช่นกัน

ตัวอย่างเช่นกาแฟหนึ่งถ้วยมักจะมีคาเฟอีนมากกว่าชา 1 ถ้วย
- คาเฟอีนในกาแฟชงโดยปกติจะมีปริมาณคาเฟอีนประมาณอยู่ 95–200 มก. ต่อถ้วย
- กาแฟสำเร็จรูปมีปริมาณประมาณ 27–173 มก. ต่อถ้วย
- ชาดำมีประมาณ 40–120 มก. ต่อถ้วย
- ชาเขียวประมาณ 25-29 มก. ต่อถ้วย


          ทั้งนี้สำหรับชาปริมาณคาเฟอีนขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่ชงระยะเวลาในการชงและคุณภาพของชาอีกด้วย การดื่มคาเฟอีนในระดับที่สูงเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะกังวล กระสับกระส่าย ตื่นกลัวง่าย ความดันโลหิตสูง กรดในกระเพาะหลั่งเพิ่มขึ้น ภาวะลำไส้ปั่นป่วน และนอนไม่หลับ อย่างไรก็ดีอาการดังกล่าวสามารถหายไป เมื่อระดับคาเฟอีนในร่างกายลดลง และยังไม่มีรายงานการเกิดผลกระทบในระยะยาว

การดื่มคาเฟอีนในระดับปานกลาง
          บางครั้งการดื่มคาเฟอีนอาจเพิ่มขึ้นได้เมื่อเวลาผ่านไป การดื่มคาเฟอีนในปริมาณที่พอเหมาะต่อวัน สามารถช่วยให้รู้สึกดี และเพื่อป้องกันผลข้างเคียงของการดื่มคาเฟอีนที่มากเกินไปต่อวัน สามารถลดปริมาณคาเฟอีนต่อวันได้ดังนี้

- เปลี่ยนกาแฟปกติ เป็น Decaf และชาดำ Decaf
- เปลี่ยนชาปกติ เป็นชาสมุนไพรที่ปราศจากคาเฟอีน เช่นเปปเปอร์มินต์ คาโมไมล์ เบอร์รี่ หรือมะนาวและขิง
- เปลี่ยนจากการดื่มน้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มชูกำลัง เป็นน้ำเปล่า

คำแนะนำ
          คาเฟอีนไม่สามารถทดแทน การออกกำลังกาย การนอนหลับ หรือการรับประทานให้เหมะสมมีประโยชน์ ที่ส่งผลต่อสุขภาพหัวใจที่ดีได้ คาเฟอีนในปริมาณปานกลางควรเป็นประโยชน์สำหรับคนที่มีสุขภาพแข็งแรงส่วนใหญ่บริโภค โปรดจำไว้ว่าขีดจำกัด ที่แนะนำคือ 400 มก. ต่อวันเพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่เป็นลบ สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าเราทุกคนแตกต่างกันและพวกเราบางคนมีความไวต่อคาเฟอีนมากกว่าคนอื่น ๆ ความไวเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดอาการเชิงลบหลายประการดังกล่าวข้างต้น

          หากคุณพบว่าตัวเองมีอาการเหล่านี้ให้จดบันทึกปริมาณคาเฟอีนที่คุณบริโภคและค่อยๆลดปริมาณลงทีละน้อย ในการดื่มคาเฟอีนแต่ละครั้ง คาเฟอีนยังคงอยู่ในระบบร่างกายประมาณหกชั่วโมงหลังจากการดื่มถ้วยสุดท้าย การนอนหลับอย่างมีคุณภาพมีความสำคัญต่อการรักษาสุขภาพและการป้องกันโรค ระวังว่าการดื่มกาแฟในช่วงบ่ายหรือเย็นจะทำให้คุณนอนหลับช้ากว่าปกติ


ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสุขุมวิท , สาระความรู้ : โรคหัวใจ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้