วันวิสาขบูชา เป็นอีกหนึ่งวันที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ทำให้ชาวไทยมีโอกาสได้เข้าวัดทำบุญ ซึ่งยังเป็นวันหยุดของทางราชการและเอกชน ทั่วทั้งปะเทศไทยอีกด้วย เป็นการระลึกถึงคำสอนสิ่งดีๆของพระพุทธเจ้า บำเพ็ญแต่ความดี ละเว้นความชั่ว และ ทำให้จิตใจผ่องใส และปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า รวมถึงการไม่เป็นผู้เบียดเบียนหรือทำร้ายผู้คนอื่น พร้อมทั้งอาจปฏิบัติรักษาศีล และตั้งตนไม่อยู่ในความประมาท
ความสำคัญของวันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชาเป็นวันที่ พระพุทธเจ้า ทรงประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน ตรงกันทั้ง 3 เหตุการณ์ในวันเดียวกัน คือตรงกับ วันเพ็ญเดือน 6 (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6) ตามปฏิทินจันทรคติ ซึ่งมักจะตรงกับช่วงเดือนพฤษภาคมในปฏิทินสากล
3 เหตุการณ์สำคัญในวันเดียวกัน ได้แก่:
- ประสูติ เช้าวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี เจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติ ที่พระราชอุทยานลุมพินีวันระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ ประเทศเนปาล
- ตรัสรู้ เช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี เจ้าชายสิทธัตถะ ตรัสรู้ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี ปัจจุบัน สถานที่แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
- ปรินิพพาน หลังจากตรัสรู้ ทรงออกประกาศพระธรรมวินัยและโปรดเวไนยสัตว์เป็นเวลา 45 ปี เมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา ก็ เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมืองกุสีนคระ รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย)
เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญทั้ง 3 เหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้น เกิดขึ้นตรงกันในวันเพ็ญ เดือน 6 ชาวพุทธจึงเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วันวิสาขบูชา" ซึ่งแปลว่า การบูชาในวันเพ็ญเดือนหก (บางแห่งเรียกว่า วันพระพุทธเจ้า หรือ พุทธชยันตี)
กิจกรรมที่นิยมทำในวันวิสาขบูชา
ทำบุญตักบาตร เพื่ออุทิศส่วนกุศลและเสริมบุญกุศลแก่ตนเอง เวียนเทียน รอบพระอุโบสถในตอนเย็น เป็นการระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ฟังธรรมเทศนา เพื่อเพิ่มพูนความรู้และเข้าใจหลักธรรม ปฏิบัติธรรม เช่น การเจริญสมาธิ วิปัสสนา งดเว้นอบายมุข และรักษาศีล 5 หรือศีล 8 ความสำคัญในระดับสากล องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็น "วันสำคัญสากลของโลก" (International Day of Vesak) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ประเทศต่าง ๆ ที่นับถือพุทธศาสนา เช่น ศรีลังกา อินเดีย เมียนมา กัมพูชา ลาว และไทย ต่างก็จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองในวันนี้